วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การดูแลกระต่าย

การดูแลกระต่าย



การดูแลกระต่ายไม่ใช่เรื่องยาก แต่เป็นงานที่ต้องกระทำเป็นกิจวัตร ทุกวัน ทุกสัปดาห์ และทุกเดือน การเลี้ยงกระต่ายนั้นสำคัญที่ ทุก ๆ สิ่งต้องสดและสะอาด เราอาจจัดแบ่งลักษณะงานที่ต้องทำให้กับกระต่ายไว้ เพื่อง่ายต่อการปฏิบัติดังนี้ ...

๐ ทุกวัน ๐     - ตรวจสอบสุขภาพกระต่ายประจำวัน สังเกตุการนั่ง เดิน ยืน ตรวจเล็บ สุขภาพขน และสุขภาพหู
     - ปล่อยกระต่ายวิ่งเล่น เราอาจกั้นพื้นที่บางส่วนไว้ให้กระต่ายได้ออกกำลังกายในช่วงที่เราทำความสะอาดกรงของกระต่ายในตอนเช้า-เย็น (แล้วแต่ความสะดวกของผู้เลี้ยง)
     - เก็บเศษผักสด ผลไม้เก่าที่กระต่ายทานไม่หมดทิ้ง เพราะเศษอาหารที่เหลือตกค้างนี้ หากกระต่ายทานเข้าไปอีกอาจทำให้เกิดอาการท้องเสียได้
     - เก็บเศษอาหารเม็ดเก่าทิ้ง เพราะอาหารเม็ดที่เหลือเหล่านี้จะเกิดการบวมชื้น กระต่ายจะไม่ทานส่วนที่เหลือ ดังนั้นในแต่ละมื้ออาหารควรกำหนดปริมาณอาหารเม็ดให้พอดีสำหรับ 1 มื้อเสมอ
     - เก็บเศษหญ้าสด/หญ้าแห้งทิ้ง เศษหญ้าเหล่าเมื่อทิ้งไว้ในกรงอาจเกิดการขึ้นราหรือปนเปื้อนกับมูลหรือฉี่กระต่าย
     - ทำความสะอาดถาดรองกรง
     - เทน้ำเก่าในขวดน้ำทิ้ง แล้วเติมน้ำสะอาดให้เต็ม
     - ให้อาหารเม็ด หญ้าสด/หญ้าแห้ง หรือผักสด/ผลไม้ โดยกะปริมาณอาหารให้กระต่ายทานหมดใน 1 มื้อ

๐ ทุกสัปดาห์ ๐     - ล้างทำความสะอาดขวดน้ำ กระถางใส่อาหาร ที่แขวนหญ้า ด้วยน้ำสบู่อ่อน ๆ หรือน้ำยาฆ่าเชื้อผสมเจือจาง แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ต้องมั่นใจว่าไม่มีสารตกค้างหลงเหลือก่อนนำกลับไปใช้เลี้ยงกระต่ายอีกครั้ง
     - ทำความสะอาดถาดรองกรง และตากแดดให้แห้งสนิท

๐ ทุกเดือน ๐     - ทำความสะอาดกรง ถาดรองกรง พื้นใต้กรง ผนังกำแพง ในบริเวณที่ใช้เลี้ยงกระต่าย ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อผสมเจือจาง แล้วล้างออกให้สะอาดก่อนนำกระต่ายกลับเข้ากรง
     - ทำความสะอาดอุปกรณ์ที่ใช้เลี้ยงกระต่ายทั้งหมด รวมทั้งของเล่นของกระต่าย
หากเราปฏิบัติได้ในทุก ๆ ข้อ จนเป็นความเคยชินแล้ว จะทำให้กระต่ายนั้นมีสุขอนามัยที่ดี ย่อมส่งผลให้สุขภาพกายและสุขภาพจิตของกระต่ายนั้นดีเช่นกัน กระต่ายที่มีสุขภาพสมบูรณ์ จะร่าเริงแจ่มใส สะอาดสะอ้าน น่ารักน่าอุ้ม ขนสวยนุ่ม และขี้เล่น

เรื่องราวการดูแลสุนัข

การดูแลสุนัข





"สุนัข" จำเป็นจะต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่จากเจ้าของ ทั้งในด้านการดูแลขน การอาบน้ำ การดูแลสภาพทั่วไปของหู ตา จมูกและเล็บเท้า รวมไปถึงการดูแลสุขภาพของเหงือกและฟัน ตลอดจนการออกกำลังกาย การได้รับอาหารที่ดี และการได้รับการตรวจสุขภาพจากสัตวแพทย์อย่างสม่ำเสมออีกด้วย

 วิธีการดูแล สุนัข...เบื้องต้นที่เราควรทราบง่าย ๆ ดังนี้

         1. ไม่ควรเลี้ยงลูกสุนัขไว้บนพื้นที่ลื่น เช่น พื้นกระเบื้อง หินอ่อนขัด เป็นต้น เพราะจะทำให้ขาสุนัขไม่สวย มันไม่สวยยังหรอ ขาจะแบะออกคล้ายๆกับว่ายืนได้ไม่มั่นคง

         2. ไม่ควรอาบน้ำให้ลูกสุนัขที่อายุยังไม่ถึง 3 เดือน ถ้ารู้สึกว่าสกปรกใช้ผ้าน้ำเช็ดขนข้างนอกก็พอ ถ้าเลี่ยงไม่ได้จริงๆ อาบน้ำแล้วให้รีบเช็ดและเป่าให้แห้ง เดี๋ยวสุนัขจะเป็นหวัด

         3. ระวัง! อย่าให้ลูกสุนัขมุดใต้กรง หรือใต้อะไรที่แข็งและเป็นคาน เพราะมีโอกาสเสี่ยงที่จะเข้าไปติด ถูกกดทับ หรือเกิดอุบัติเหตุที่ทำให้เส้นหลังเสียได้ (กระดูกสันหลังจะแอ่น)

         4. ควรดูแลรักษาปากและฟันของสุนัข อย่าให้กัดแทะของแข็งเกินไป เดี๋ยวฟันไม่แข็งแรง ควรหากระดูกเทียมให้สุนัขแทะเล่น เอากระดูกแบบสีขาวและมีฟลูออไรด์ด้วยจะได้ทำความสะอาดฟันสุนัขไปในตัว

         5. เมื่อสุนัขเริ่มเป็นหนุ่มเป็นสาว (อายุ 7-8 เดือน) อย่าเพิ่งรีบให้ผสมพันธุ์ เพราะสุนัขยังไม่โตเต็มที่ อาจทำให้หยุดการเจริญเติบโตและทำให้ตัวเล็ก แล้วก็อาจจะแท้งหรือให้ลูกที่ไม่สมบูรณ์

         6. เมื่อเริ่มโตสุนัขจะเริ่มมีขนร่วง ไม่ต้องแปลกใจเป็นธรรมชาติของสุนัขที่มีการเจริญเติบโต

         7. อาหารที่ใช้ควรเป็นอาหารเม็ด เพราะสะดวกรวดเร็ว ถ้าให้อาหารธรรมดา(ทำเอง) สุนัขจะเลือกกินแล้วจะไม่กินอาหารเม็ด อย่าให้แทะกระดูกจริงเพราะเดี๋ยวจะไปทิ่มเอากระเพาะสุนัขจะติดคอได้ง่าย

         8. การฉีดวัคซีนและถ่ายพยาธิ ควรทำตามตารางที่สัตวแพทย์แนะ

วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เกี่ยวกับแมว




การจัดจำแนกแมว (General taxonomy)
โดยทั่วไปมีการแบ่งพันธุ์แมวออกเป็น ๒ ลักษณะใหญ่ๆ คือ แมวขนยาว (longhaired cat) และแมวขนสั้น (shorthaired cats) การแบ่งพันธุ์ด้วยวิธีนี้ทำให้จำแนกแมวออกได้ตามลักษณะพันธุ์ที่จำเพาะต่างๆ กัน การจัดจำแนกแมวในยุโรปและสหรัฐอเมริกามีการกำหนดมาตรฐานของพันธุ์แมวที่เป็นที่ยอมรับกัน ทั้งนี้ลักษณะมาตรฐานของพันธุ์ก็มีการเปลี่ยนแปลงอยู่บ่อยๆ การใช้ชื่อเรียกพันธุ์แมวที่แสดงถึงลักษณะของพันธุ์ที่จำเพาะมีความแตกต่างกันระหว่างในยุโรปและสหรัฐอเมริกา และมีบางพันธุ์มีการจัดจำแนกเฉพาะต่างหากในสหรัฐอเมริกาเท่านั้น
อะไรคือการเพาะพันธุ์มืออาชีพ (What is professional breeding?)
การเพาะพันธุ์แมวเป็นอาชีพเป็นธุรกิจมีมีความซับซ้อนในต่างประเทศ แต่สำหรับในบ้านเรายังเป็นธุรกิจที่ยังไม่แพร่หลายนัก การเลี้ยงแมวยังมีไม่มากนัก และยังไม่นิยมเลี้ยงแมวพันธุ์ หลายคน หรือนักเพาะพันธุ์ในบ้านเรา (ทั้งสุนัขและแมว) คิดแต่เพียงว่า เราซื้อพ่อพันธุ์แม่พันธุ์แท้มาและเริ่มผสมพันธุ์เท่านี้ก็ได้แมวพันธุ์แท้แล้ว แต่ในความเป็นจริงการเพาะพันธุ์แมวมีความต้องการอะไรมากไปกว่านั้น ต้องการความเข้าใจในพันธุกรรมที่เกี่ยวกับข้องกับพันธุ์นั้นๆ ต้องการรายละเอียดอื่นๆ เช่น ประวัติของพันธุ์ที่แท้จริงของคู่พ่อพันธุ์แม่พันธุ์ เป็นต้น ในบางครั้งแมวที่มีพันธุ์ประวัติดี ลักษณะดี เจ้าของอาจจะทำหมันเสีย หรือมีการขาย เพราะถือเป็นแมว "คุณภาพดี (pet quality)" ไม่ได้มีการเก็บไว้ในฐานผู้สืบทอดพันธุกรรม
ในความเป็นจริงจะพบมีแมวเพียงบางตัวเท่านั้นที่เกิดจากพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ที่มีลักษณะทางพันธุกรรมที่ดีตรงตามลักษณะพันธุ์ และควรนำไปใช้เป็นผู้สืบทอด หรือเป็นพ่อพันธุ์ หรือแม่พันธุ์ แมวพวกนี้ถือเป็น แมวคุณภาพดี (show quality) และพบได้น้อยมากและมีราคาแพง นอกจากนี้นักผสมพันธุ์ควรมีความรู้เกี่ยวกับโรคที่เกิดจากพันธุกรรมและลักษณะด้วยที่เกิดจากพันธุกรรมประจำแมวแต่ละพันธุ์ด้วย เพื่อจะไม่คัดเลือกแมวที่มีลักษณะเหล่านั้นไปสืบทอดต่อไป
แมวพันธุ์แท้ มีลักษณะคล้ายๆ กับสัตว์พันธุ์แท้อื่นๆ คือ มีความอ่อนไหว หรือมีความไวโรคบางโรค และ ความเครียด ดังนั้นผู้เลี้ยงอาจจะต้องใช้งบประมาณและศึกษาหาความรู้ให้มากกว่าปกติ เพื่อทำให้สามารถดูแลสุขภาพและคุณภาพชีวิตของแมวที่เราเลี้ยงให้ดีที่สุด ถ้าแมวนั้นต้องถูกนำไปเลี้ยงเพื่อเป็นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ การดูแลในเรื่องที่อยู่อาศัยและอาหารจะต้องมีความพิเศษกว่าปกติ สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยเพิ่มเติม ทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในฟาร์มแมวที่เป็ฯมืออาชีพ
ผู้ที่คิดจะเข้าสู่ธุรกิจการเพาะพันธุ์แมว เพื่อหวังร่ำรวยคงต้องคิดให้ดี ถ้าเป็นมืออาชีพ ผลิตสินค้า (แมว) ให้มีคุณภาพ สำหรับในบ้านเราแมวพันธุ์ยังมีราคาค่อนข้างสูง การเพาะพันธุ์ยังไม่ถือว่าเป็นมืออาชีพ ความนิยมเลี้ยงแมวบ้านเราส่วนใหญ่เป็นแมวพันธุ์ผสม แมวพื้นเมือง และยังมีปัญหาแมวจรจัดอีกมากมาย
การประกวดแมว หรือแม้แต่สัตว์ชนิดอื่นๆ เป็นการส่งเสริมให้คนนิยมเลี้ยงแมวและมีความภาคภูมิใจในแมวที่ตนเองเลี้ยง ไม่ได้ส่งเสริมให้ทุกคนต้องนำแมวเหล่านั้นไปเพาะพันธุ์ ในบ้านเราการประกวดแมวบางแห่งไม่ยอมรับแมวที่ผ่านการทำหมันแล้ว แต่แมวที่ตอนแล้วก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคให้ผู้เลี้ยงนำแมวไปประกวดเพื่อล่ารางวัลได้ หลายแห่งมีการประกวดโดยไม่มีเงื่อนไขของการตอน เช่น แมวแสนรู้ เป็นต้น คงต้องหารายละเอียดในสนามประกวดแต่ละแห่งต่อไป
พันธุ์แมว
แมวมีมากมายหลายพันธุ์

ประวัติ


ชื่อ สิริพร  โป้แดง
ชื่อเล่น  อ้อ
อายุ 18
โรงเรียนวิมลพณิชยการ  ศรีย่าน
เกิด 25 / 10 / 2535
ที่อยู่ 75/1 หมู่ 5  ต.คลองพระอุดม  อ.ปากเกร็ด  จ.นนทบุรี  11120
เบอร์ 08-5119-9826